สกู๊ปพิเศษ: ‘อว.-สธ.’ แถลงความสำเร็จ โครงการดูแลสุขภาพจิตนักศึกษา เตรียมขยายผลไปยังสถาบันอื่น

สยามรัฐ ฉบับวันที่ 23 มี.ค. 2566
หมายเหตุ…ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีการแถงข่าวความสำเร็จ”โครงการคู่เครือข่ายดูแลจิตใจ ก้าวสู่คนไทยคุณภาพ” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวง อว.กับกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) โดยมี ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว. และ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัด สธ. พร้อมด้วย พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ผศ.ดร.ลินดา เกณฑ์มา ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.) และผศ.ไพบูลย์หาญมนต์ ผู้แทนคณะกรรมการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.) ร่วมกันแถลงข่าว (22 มี.ค.66)โดยมีรายละเอียด ดังนี้

โดย ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ กล่าวว่าอว.มีสถาบันการศึกษา ที่ต้องดูแลประมาณ 150 แห่ง มีนักศึกษาประมาณ2 ล้านคนในแต่ละปีจะมีนักศึกษาหนุนเวียนเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีประมาณปีละ 4.5 แสนคน แน่นอนนักศึกษาที่อยู่ในช่วงวัยระหว่าง 18 -22 ปีมีสภาวะความเครียดอยู่แล้วขณะที่ “โครงการคู่เครือข่ายดูแลจิตใจก้าวสู่คนไทยคุณภาพ” เริ่มดำเนินการในปี 2565 เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) 38 แห่งและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.) 9 แห่ง กระทรวง อว.กับกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)เพื่อขับเคลื่อนการดูแลช่วยเหลือทางด้านจิตใจแก่นักศึกษา พร้อมบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานในสังกัด สธ. และมหาวิทยาลัยในแต่ละเขตสุขภาพ ทั้งนี้ นักศึกษาอยู่ในช่วงวัย 18 – 22 ปีเป็นวัยรุ่นและเป็นช่วงรอยต่อชีวิตนักศึกษากับการออกไปทำงานเมื่อจบการศึกษาทำให้มีความเครียดอยู่แล้วสำหรับการปรับตัวเพื่อออกสู่สังคม โดยการทำงานร่วมกันระหว่าง มรภ.38 แห่งและ มทร. 9 แห่งกับกรมสุขภาพจิตถือว่าได้ผลดีมาก

มีการคัดกรองและดูแลสุขภาพจิตนักศึกษากว่า 2 หมื่นคนและมีประมาณ 2 พันคนที่สามารถช่วยให้สุขภาพจิตและจัดการกับปัญหาความเครียดได้ดีขึ้นช่วยบำบัดดูแลสุขภาพจิต มีเพียง439 รายต้องส่งต่อให้แพทย์ดูแลและหลังจากนี้ อว.จะขยายผลไปยังสถาบันการศึกษาอื่นๆ ต่อไป

ด้าน นพ.โอภาส กล่าวว่า สธ.สนับสนุนโครงการคู่เครือข่ายดูแลจิตใจฯ โดยกรมสุขภาพจิต ในการดูแลช่วยเหลือนักศึกษา มีผลสำเร็จของการดำเนินงานตามโครงการ พบว่ามรภ.ทั้ง38 แห่ง มีโรงพยาบาลคู่เครือข่ายสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นคู่เครือข่าย จำนวน 51 แห่งและ มทร.ทั้ง 9 แห่ง มีโรงพยาบาลสังกัด สป.เป็นคู่เครือข่ายจำนวน 14 แห่ง ทั้งนี้มีแนวทางการส่งเสริมป้องกันและดูแลส่งต่อตามระบบสาธารณสุขที่สามารถเบิกจ่ายได้ตามสิทธิ์ พร้อมมีการจัดทำแผนเผชิญเหตุกรณี เหตุวิกฤติของนักศึกษาอีกด้วย

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากผลการประเมินสุขภาพจิตด้วย Mental Health Check In (MHCI) ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2565 ถึงปัจจุบัน พบว่า เยาวชนกลุ่มมหาวิทยาลัย (อายุ 19 -24 ปี)จำนวน 26,887 ราย มีความเสี่ยงซึมเศร้าร้อยละ 25.68 และมีความเครียดสูงร้อยละ 19.21 ซึ่งนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเป็นกลุ่มเปราะบางที่มีความเฉพาะที่จะเกิดปัญหาสุขภาพจิต เช่นภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และเครียด มีเพิ่มขึ้นตลอดช่วงวัยรุ่น และสูงสุดในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ภายหลังดำเนินโครงการฯ เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2565 เป็นต้นมาได้คัดกรองและดูแลสุขภาพจิตนักศึกษาไปแล้ว จำนวน 23,740 ราย ในจำนวนนี้ไม่พบความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต จำนวน 18,066 ราย แต่ทว่าพบผู้มีความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิตจำนวน 5,235 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาที่ต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต (กลุ่มสีเหลือง) จำนวน1,630 ราย โดยขณะนี้มีจำนวนนักศึกษาที่ได้รับการดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตจนดีขึ้นแล้ว จำนวน 1,166 รายอย่างไรก็ดีในกลุ่มนี้พบจำนวนนักศึกษาความเสี่ยงที่จำเป็นต้องส่งต่อให้แพทย์ดูแล (กลุ่มสีแดง) ทั้งสิ้น 399 รายซึ่งขณะนี้สุขภาพจิตดีขึ้นแล้ว จำนวน232 ราย

ผศ.ดร.ลินดา เกณฑ์มา ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏกล่าวว่า มรภ.ดำเนินการดูแลสุขภาพกายและใจของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยในลักษณะใกล้เคียงกัน โดยขับเคลื่อนดูแลสุขภาพใจนักศึกษาผ่านโปรแกรมMHCI ของกรมสุขภาพจิต วิเคราะห์ความต้องการและความเสี่ยงในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตวัยรุ่นอย่างมีส่วนร่วมในมหาวิทยาลัยสร้างระบบและกลไกการดูแลนักศึกษาที่ชัดเจน โดยกำหนดแผนในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตวัยรุ่น ส่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้ารับการอบรมกับกรมสุขภาพจิต เปิดศูนย์ดูแลสุขภาพจิตนักศึกษา จัดโครงการอบรมที่หลากหลายในการเสริมสร้างสุขภาพจิต ผลการดำเนินงานในการดูแลสุขภาพจิตของนักศึกษา มรภ.ได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบครบวงจร

ผศ.ไพบูลย์ กล่าวว่า มทร.ธัญบุรีมีแนวทางการจัดบริการให้คำปรึกษาทางด้านจิตใจ ผ่านทางคลินิกกำลังใจหรือ Mind Counseling RMUTT กองทุนสุขภาพนักศึกษา ที่เปิดให้บริการแก่นักศึกษาและบุคลากรมานานกว่า 5 ปี ภายใต้แนวคิด “ปกปิดปลอดภัย-เปิดใจ” ล่าสุดมีสถิติการเข้ารับบริการในปี 2565 ที่ได้รับการดูแลและจัดการปัญหาแล้วกว่า 200 ราย ในรายที่มีความรุนแรงมีการส่งต่อเชิงลึกเชื่อมโยงการรักษากับโรงพยาบาลคู่เครือข่ายในเขตสุขภาพที่ 4 นอกจากนี้ มทร.พระนคร มทร.ศรีวิชัย มทร.อีสาน มทร.สุวรรณภูมิ มทร.กรุงเทพ และ มทร.รัตนโกสินทร์ มุ่งเน้นการบริการให้คำปรึกษาทุกปัญหาของนักศึกษา ด้าน มทร.ล้านนา มีแนวทางการดูแลที่เน้นการป้องกัน โดยนำระบบ MHCI เข้ามาใช้ในการคัดกรองเบื้องต้น ให้คำปรึกษา และนำไปสู่การส่งต่อ เป็นต้น

แสดงความคิดเห็น

[fbcomments count="off" num="5"]