นศ.มทร.ธัญบุรี คิดค้นพรีไบโอติกส์จากเมล็ดขนุน

นางสาวปริญรัตน์ ชาลี นางสาวภัณฑิรา โชติยเวชวัฒน์ และนางสาวณัฐกมล ทับทิมธรรม นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชานวัตกรรมผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี)  โดยมี ดร.สุริยา ชัยวงศ์ อาจารย์ที่ปรึกษา และ ผศ.ดร.สุรชัย เตชะเอ้ย อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม คิดค้นผลิตภัณฑ์พรีไบโอติกส์จากเมล็ดขนุน ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้และช่วยเรื่องระบบขับถ่าย โดยนางสาวปริญรัตน์ ชาลี ตัวแทนเจ้าของผลงาน เล่าว่า ปัญหาเรื่องระบบขับถ่าย เป็นปัญหาที่พบได้ทุกเพศทุกวัย เช่น ท้องผูก ขับถ่ายลำบาก อึดอัด แน่นท้อง ส่งผลให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น สิวขึ้น ผิวดูหมองคล้ำ รวมทั้งเสี่ยงเป็นริดสีดวงทวาร หนักและมะเร็งลำไส้ใหญ่ สำหรับการแก้ปัญหาระบบขับถ่ายที่ผิดปกติสามารถทำได้โดยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง การขับถ่ายให้เป็นเวลา การดื่มน้ำให้เพียงพอ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ อีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน คือ การรับประทานพรีไบโอติกส์ ซึ่งจัดเป็นแหล่งอาหารของโพรไบโอติกส์ หรือแบคทีเรียที่ดีในลำไส้ ทำให้เกิดสภาวะที่เหมาะสมในการย่อยอาหารในลำไส้ ส่งผลให้ระบบย่อยอาหาร ทำงานได้อย่างเป็นปกติและขับถ่ายได้สะดวกขึ้น

จากการศึกษางานวิจัยพบว่า สารสกัดเมล็ดขนุนช่วยเหนี่ยวนำให้เกิดการเจริญเติบโตของโพรไบโอติกส์แบคทีเรีย ที่อยู่ในลำไส้ คือ Lactobacillus casei และ Bijfdobacterium longum ได้เทียบเท่ากับแหล่งของ   พรีไบโอติกส์ที่นิยมใช้ในท้องตลาด เช่น อินนูลิน ฟรุกแทนและแป้งสาลี ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์พรีไปโอติกส์จากสารสกัดเมล็ดขนุน ซึ่งเป็นส่วนเหลือทิ้งทางการเกษตร  พัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบเจลลี่สตริป Jelly strip) ซึ่งเป็นรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เนื่องจากรับประทานได้ง่าย เหมาะสำหรับบุคคลทุกช่วงทุกวัย สามารถดูดซึมได้ง่าย และพกพาสะดวก โดยผลิตภัณฑ์พริไบโอติกส์จากสารสกัดเมล็ดขนุนจะช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้และช่วยทำให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้

ผลไม้ไทย

นางสาวภัณฑิรา โชติยเวชวัฒน์ เพิ่มเติมอีกว่า จากการทดสอบประสิทธิภาพการเป็นพรีไบโอติกส์จากสารสกัดเมล็ดขนุนสดและแห้ง พบว่าสารสกัดเมล็ดขนุนสดมีทางกายภาพของสารสกัดเมล็ดขนุนสดเป็นผงหยาบสีเหลือง และสารสกัดเมล็ดขนุนมีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาว โดยมีค่า % yield 1.66 และ 139 ตามลำดับ นอกจากนี้การทดสอบปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์พบว่าสารสกัดเมล็ดขนุนสดมีปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ 180 me/g ของสารสกัด สารสกัดเมล็ดขนุนแห้งมีน้ำตาลรีดิวซ์ 104.18 mg/g ของสารสกัด ที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือสารสกัดเมล็ดขนุนทั้งสองชนิด ที่ความเข้มข้น 1 และ 4% สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของเชื้อ Lactobacilus plantarum ได้ดีกว่า 1% กลูโคส โดยสารกัดที่ความเข้มข้น 1% มีแนวโน้มส่งเสริมการเจริญเติมโตของเชื้อ L. plantarum ใกล้เคียงกับสารสกัดที่ความเข้มข้น 4% สำหรับการศึกษาการประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์นั้น ไม่พบการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ของผลิตภัณฑ์เมื่อเก็บผลิตภัณฑ์ไว้ในสภาวะที่แตกต่างกัน อีกทั้งผลิตภัณฑ์ยังคงมีค่า pH ที่อยู่ในช่วงของปกติของผลิตภัณฑ์เจลลี่

 

000ชลธิชา ศรีอุบล

กองประชาสัมพันธ์ มทร.ธัญบุรี 0-2549-4994

แสดงความคิดเห็น

[fbcomments count="off" num="5"]