มทร.ธัญบุรี เสนอเพิ่ม 13 หลักสูตรผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่

ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 09 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า ตามที่ทางมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการเปิดการเรียนการสอน หลักสูตรบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ปีการศึกษา 2561 เพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิต ตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย รองรับ New S-Curve โดยได้เปิดการเรียนประเภทปริญญา (Degree) 8 หลักสูตร โดยแบ่งเป็น 6 หลักสูตร รับนักศึกษาระดับ ม.6 และ ปวช. ได้แก่ กลุ่มหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์กลุ่มอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์อากาศยาน สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการการบิน และสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเซนกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ สาขาวิชาการผลิตพืช และอีก 2 หลักสูตร รับนักศึกษาระดับ ปวส. ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ สาขาวิชาวิศวกรรมระบบราง หลังจากสำเร็จการศึกษาสามารถทำงานได้จริงตามสมรรถนะที่สถานประกอบการต้องการ กระบวนการเรียนการสอน50% ของเวลาเรียนบัณฑิตต้องเรียนรู้ทฤษฎีในมหาวิทยาลัย และอีก 50% ของเวลาเรียนนักศึกษาต้องเรียนรู้วิธีฝึกปฏิบัติจากทั้งมหาวิทยาลัยและสถานประกอบการ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมนอกชั้นเรียน กิจกรรมพิเศษและอบรมให้แก่นักศึกษา ซึ่งขณะนี้ทาง มทร.ธัญบุรี ได้เสนอเปิดหลักสูตรบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ทั้งสิ้น 29 หลักสูตร ประกอบด้วยหลักสูตรประเภทปริญญา (Degree) จำนวน 13 หลักสูตร คือ กลุ่มอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 1) สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ใหม่ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 2) สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า 3) สาขาวิศวกรรมเครื่องกล 4) สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ 5) สาขาวิศวกรรมการผลิตสิ่งทอกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 6) สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 7) สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ กลุ่มอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 8) สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี กลุ่มหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 9) สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ 10) สาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 11) สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องจักรกลเกษตร กลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 12) สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร กลุ่มอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 13) สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ประเภทประกาศนียบัตร (Non-Degree) จำนวน 16 หลักสูตร กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ 1) หลักสูตรวิศวกรรมสิ่งทอในงานอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ 2) หลักสูตรฝึกอบรมทักษะเพื่อรองรับเทคโนโลยีการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ กลุ่มอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ 3) หลักสูตรฝึกอบรมพัฒนากำลังคนด้านอากาศยานระยะสั้น (Non-Degree) ตามมาตรฐาน EASA Part-66 CAT B1.1 and B2 4) หลักสูตรอบรมการวิเคราะห์และออกแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กและโครงสร้างเหล็กด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเข้าสู่ระดับมืออาชีพ กลุ่มอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ 5) หลักสูตรการผลิตวัสดุชีวภาพเชิงอุตสาหกรรม กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล 6) หลักสูตรการประยุกต์ใช้แอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและการดำรงชีวิตในยุค Thailand 4.0 7) หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นหลักสูตร Industrial Digital : Digital Content 8) หลักสูตรการใช้งานเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งสำหรับอุปกรณ์บนระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ Soft Skill 9) หลักสูตรระบบอัตโนมัติอัจฉริยะและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ฝึกอบรมระยะสั้น Train the Trainer 10) หลักสูตร Thai Meister Precision Machine ฝึกอบรมระยะสั้น Train the Trainer 11) หลักสูตร Thai Meister Mechatronics ฝึกอบรมระยะสั้น Train the Trainer 12) หลักสูตร Thai Meister Electronics : Smart Electronic ฝึกอบรมระยะสั้น Train the Trainer 13) หลักสูตร Thai Meister Automotive กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 14) หลักสูตรฝึกอบรมช่างเทคนิคชั้นสูงด้านระบบโครงข่ายปลายทางสายสื่อสารใยแก้วนำแสง กลุ่มผู้สูงอายุ 15) หลักสูตรเพิ่มทักษะและสมรรถนะด้านการดูแลและการฟื้นฟูผู้สูงอายุ 16) หลักสูตรการดูแลภาวะผู้สูงวัย โดยคาดว่าจะเปิดรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2563 อธิการบดีกล่าว ผู้สนใจเข้าศึกษาต่อหลักสูตร บัณฑิตพันธุ์ใหม่ สามารถเข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.oreg.rmutt.ac.th สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0-2549-3613-15

แสดงความคิดเห็น

[fbcomments count="off" num="5"]