แผนปั้น ‘Talent’ ไอซีที มุ่งเศรษฐกิจดิจิทัล ฉบับ ‘หัวเว่ย’

กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 06 สิงหาคม พ.ศ. 2563
กรุงเทพธุรกิจ เมื่อโลกก้าวสู่ยุคดิจิทัล และเร่งสร้าง “เศรษฐกิจดิจิทัล” (Digital Economy) แน่นอนย่อมต้องการคนหรือแรงงานไอซีทีเพื่อมาช่วยขับเคลื่อนเป้าหมายให้สำเร็จได้จริง
“หัวเว่ย” ในฐานะผู้ให้บริการโซลูชั่นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ระดับโลก จึงประกาศแผนพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านบุคลากร เพื่อตอบสนองความต้องการแรงงานดิจิทัลที่มีทักษะสูงที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปัญหาการขาดแคลนแรงงานทักษะสูงถือเป็นความท้าทายของทุก ๆ ประเทศทั่วโลก รวมทั้งในเอเชียแปซิฟิกซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งภูมิภาคที่ อุตสาหกรรมไอซีทีมีการเติบโตเร็วที่สุด ในโลก ในขณะที่เทคโนโลยีใหม่ ๆ อาทิ เอไอ และ 5จี มีการใช้งานแพร่หลายมากขึ้น ก็ยิ่งมีความจำเป็นที่ต้องมีการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพ อีกทั้งช่วยจับคู่บุคลากรเข้ากับโอกาสในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“ไมเคิล แมคโดนัลด์” ประธานเจ้าหน้าที่ ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและที่ปรึกษาผู้บริหาร ของหัวเว่ย เอเชีย แปซิฟิก กล่าวว่า ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เทคโนโลยีได้พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด เพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเราก็ได้เห็นความสำเร็จในการคิดค้นเทคโนโลยีมากมายที่เข้ามาเปลี่ยนโลก ซึ่งรากฐานของอุตสาหกรรมไอซีทียุคใหม่ในปัจจุบันประกอบด้วยคลาวด์คอมพิวติ้ง, บิ๊กดาต้า, อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ และปัญญาประดิษฐ์ ด้วยการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่มีความ แพร่หลายมากขึ้นจึงทำให้ทักษะด้านไอทีพื้นฐานไม่เพียงพออีกต่อไป
“องค์กรทั้งหลายเริ่มปรับเปลี่ยนคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของพนักงาน ภูมิทัศน์ ไอซีทีโฉมใหม่จะทำให้ตลาดขาดแรงงานที่มีทักษะขั้นสูงราว 5 ล้านคน” เพื่อให้สามารถรับมือกับความท้าทายด้านแรงงานไอซีที หัวเว่ยจึงได้ก่อตั้งโครงการต่าง ๆ เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มด้านบุคลากรไอซีทีที่ครอบคลุมรอบด้านช่วยให้ห่วงโซ่ อุตสาหกรรมเติบโตต่อได้โดยไม่สะดุด ได้แก่
Huawei ICT Academy เปิดตัว ในปี 2556 เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและองค์กร ที่ดึงสถาบันการศึกษาระดับสูงและองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมมาทำงานร่วมกัน
ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา โครงการนี้ได้ช่วยมหาวิทยาลัยบ่มเพาะบุคลากรด้านไอซีทีให้มีความรู้ความสามารถตรงตามที่อุตสาหกรรมต้องการผ่านคอร์สการเรียนด้านไอซีทีและการฝึกปฏิบัติงานจริง ปัจจุบันดำเนินการอยู่ใน 72 ประเทศทั่วโลก ซึ่งในจำนวนนี้อยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก103 แห่ง
“ในปี 2563 เราจะตั้งโครงการ Huawei ICT Academy อีกกว่า 200 แห่ง ตลอดจน ฝึกอบรมและออกใบรับรองมาตรฐานวิชาชีพ ให้แก่นักศึกษาและพนักงานกว่า 10,000 คน ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ระบบนิเวศบุคลากรด้านไอซีทีเป็นกลยุทธ์ระยะยาวของหัวเว่ย และเราจะทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยและพันธมิตรด้านการฝึกอบรมของหัวเว่ย (HALP – Huawei Authorized Learning Partner) ในแต่ละประเทศ เพื่อช่วยเสริมทักษะวิชาชีพให้แก่นักศึกษาและคนที่ทำงานด้านไอซีที”
Huawei Certification (การออก ใบรับรองและมาตรฐานวิชาชีพของหัวเว่ย) ซึ่งเป็นประกาศนียบัตรมาตรฐานด้านบุคลากรที่ครอบคลุมการสอบรับรองความรู้ถึง 100 หัวข้อ และสาขาเทคนิค 22 สาขา ที่ผ่านมา ได้ออกใบรับรองนักศึกษาและพนักงานด้านไอซีทีไปแล้วกว่า 260,000 คน รวมถึง 19,000 คนในเอเชียแปซิฟิก สำหรับรายชื่อมหาวิทยาลัยที่ร่วมกับ หัวเว่ย ดำเนินโครงการนี้ในประเทศไทย ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร, วิทยาลัยเซาท์อีสท์บางกอก, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, มหาวิทยาลัยรังสิต, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
Huawei ICT Competition ซึ่ง จัดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี 2561 และ มีนักศึกษาจากทั่วประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน กว่า 2,000 คน ทีมผู้ชนะระดับประเทศจำนวน 3 คนได้รับโอกาสเป็นตัวแทนประเทศในเวที การแข่งขันระดับโลกที่เซินเจิ้น ประเทศจีน การแข่งขันยังถือเป็นช่องทางที่ยอดเยี่ยม สำหรับนักศึกษาในการเพิ่มพูนความรู้ พบปะ เพื่อนใหม่ และเพิ่มความมั่นใจในตัวเอง ด้วยความร่วมมือกับรัฐบาล องค์กร และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ หัวเว่ยได้จัดการแข่งขัน Huawei ICT Competition ครั้งแรกขึ้นในปี 2558 สำหรับนักศึกษาจากทั่วโลก การแข่งขันครั้งล่าสุดในปี2562 จัดขึ้นใน 61 ประเทศทั่วโลก มีนักศึกษากว่า 100,000 คน จากมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยกว่า 1,600 แห่ง รวมถึงนักศึกษา 7,200 คนจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สำหรับไมเคิลมองว่าการแข่งขันจะช่วยให้นักศึกษามีเครดิต มีโปรไฟล์ที่ดี ได้รับการยอมรับและมีโอกาสได้ทำงานที่มี คุณค่าในองค์กรชั้นนำและเงินเดือนที่ดี
“เราตั้งเป้าที่จะพัฒนาแรงงาน ไอซีทีให้ได้ 2 ล้านคนในอีก 5 ปีข้างหน้า เพื่อป้อนแรงงานที่มีทักษะซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการเข้าสู่ตลาด ในปี 2563 เราจะตั้งโครงการ Huawei ICT Academy อีกกว่า 200 แห่ง ตลอดจนฝึกอบรมและ ออกใบรับรองมาตรฐานวิชาชีพ ให้แก่ นักศึกษาและพนักงานกว่า 10,000 คน ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก” โฟกัสเรื่องคุณภาพหรือจำนวนคน? ไมเคิลบอกว่าโครงการต่าง ๆ นี้แน่นอนว่า ไม่ได้สร้างรายได้ให้กับหัวเว่ยแน่ ๆ แต่มีเป้าหมายต้องการจะสร้างอนาคต โดยเฉพาะให้คนรุ่นใหม่ด้วยคอนเซปต์นี้ จึงหมายถึงมุ่งไปที่เรื่องของคุณภาพมากกว่า
“การออกใบรับรองและมาตรฐานวิชาชีพของหัวเว่ยก็เพื่อให้แน่ใจว่ามันจะเป็นใบเบิกทางให้กับพวกเขาได้อย่าง แท้จริง ซึ่งสิ่งที่เขาได้เรียนรู้อาจไม่ตรงกับ ที่อุตสาหกรรมต้องการเสียทีเดียว แต่เป็นความรู้ที่หัวเว่ยต้องการแน่ ๆ อย่างน้อยพวกเขาจะมีความรู้ที่ได้ตามมาตรฐานของหัวเว่ย ในเวลาเดียวกันถ้าเราสร้างคนได้มากเท่าไหร่ก็จะสร้างประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรมได้มากเท่านั้น” นอกจากนี้หัวเว่ยยังมีการจัด “Job Fair” เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการจ้างงานสำหรับฝั่งนายจ้างที่จะได้พบคนที่มีคุณภาพ และโอกาสในการทำงานของเด็กจบใหม่และคนทั่วไปที่สนใจทำงานไอซีทีด้วย ไมเคิลบอกว่า ปีที่ผ่านมาก็มีการจัดงาน Job Fair มากถึง 51 ครั้งทั่วโลก และช่วยให้เด็กที่เพิ่งเรียนจบหลายพันคนได้งานทำ ทั้งได้ทำงานกับหัวเว่ย ทำกับพาร์ทเนอร์ หรือกับคู่ค้าของหัวเว่ย และกับบริษัทต่างๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมไอซีที
“สิ่งที่ได้เรียนรู้อาจไม่ตรงกับที่อุตสาหกรรมต้องการเสียทีเดียว แต่เป็นอะไรที่ได้ตามมาตรฐานที่หัวเว่ยต้องการแน่ ๆ”

แสดงความคิดเห็น

[fbcomments count="off" num="5"]