มทร.ธัญบุรี ปรับภูมิทัศน์วัด ด้วยสารชีวภาพนาโนเคลือบหัวเชื้อจุลินทรีย์และสารสกัดชีวภาพ THAN Nano

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จัดโครงการการปลูกต้นไม้ด้วยสารชีวภาพนาโนเคลือบหัวเชื้อจุลินทรีย์และสารสกัดชีวภาพ THAN Nano ปลูกจิตสำนึกหน้าที่ชาวพุทธ เดือนแห่งความรัก โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์สุมานิการ์ จันทร์บรรเจิด ที่ปรึกษามหาวิทยาลัย ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ฯ ร่วมปลูกต้นไม้บริเวณรอบวัดปัญญานันทาราม และผศ.ดร.สุกาญจน์ รัตนเลิศนุสรณ์ เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ การใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์นาโน THAN Nano เพื่อการเกษตรอินทรีย์ เพิ่มผลผลิตดก ลดต้นทุน และปรับสภาพดิน ณ วัดปัญญานันทาราม จังหวัดปทุมธานี

ผศ.ดร.สุกาญจน์ รัตนเลิศนุสรณ์ เล่าว่า ทางวัดปัญญานันทาราม จังหวัดปทุมธานี เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของชาวพุทธ และมีการจัดภูมิทัศน์รอบบริเวณวัดให้ร่มรื่นเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมทางชีวภาพจากความหลากหลายทางชีวภาพจุลินทรีย์ ได้แก่ เชื้อราแบคทีเรีย แอกติโมมัยซิสปฏิปักษ์ เรียกว่า กล้าหัวเชื้อรา หัวเชื้อชีวภาพอัดเม็ด หัวเชื้อจุลินทรีย์นาโน ตามสิทธิบัตรสุกาญจน์ 2555 และ 2557 ภายใต้เครื่องหมายการค้า THAN ที่มีคุณสมบัติเด่นและแตกต่างจากจุลินทรีย์อื่นในท้องตลาด ได้แก่ 1.) ตัวเร่งการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้ให้กลายเป็นธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองมีค่ามากกว่าค่ามาตรฐานของกรมที่ดินที่กำหนดไว้  พืชสามารถดูดสารประกอบธาตุอาหารหลักรองและเสริมในรูปที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตหลังการเพาะปลูกได้ดีกว่าปกติที่เกษตรกรปลูกด้วยปุ๋ยเคมี 2-3 เท่า 2.) สามารถควบคุมเชื้อราก่อโรคและเพิ่มการสร้างภูมิคุ้มกันต่อพืช 3.) ปรับสภาพความเป็นกรดด่างดินให้เป็นกลาง 4.) กำจัดโลหะหนักที่ปนเปื้อนในดิน น้ำ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรไม่มีสารโลหะปนเปื้อน  ปลอดภัยต่อผู้บริโภคได้มาตรฐานผลผลิตตาม GAP หรือ organic Thailand  5. ทำให้ดินร่วนซุย และเก็บความชื้นในดินนานและลดการสูญเสียธาตุอาหารในดิน

ดังนั้น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี นำโดยแม่ข่ายคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยฯ (RMUTT engagements) ดำเนินการบริการวิชาการสู่ชุมชน เพื่อพัฒนาวัดตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ผ่านโครงการ การปลูกต้นไม้ด้วยสารชีวภาพนาโนเคลือบหัวเชื้อจุลินทร์และสารสกัดชีวภาพ THAN Nano มีการบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน งานวิจัย อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายฯ ภาครัฐ เอกชน สถานประกอบการ ชุมชน ผ่านกิจกรรมการปลูกต้นไม้ด้วยสารชีวภาพนาโนเคลือบหัวเชื้อจุลินทร์และสารสกัดชีวภาพ THAN Nano ของอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาทั้ง 7 สาขาวิชา และการบรรยายและอบรมในหัวข้อ การใช้หัวเชื้อจุลินทรีัย์นาโน Than เพื่อการเกษตรอินทรีย์ เพิ่มผลผลิตดก ลดต้นทุน และปรับสภาพดิน ให้กับพระภิกษุและสามเณร วัดปัญญานันทาราม

นางสาวรุจิรา ดินไธสง นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาเคมี เล่าว่า เป็นตัวแทนของสาขาวิชาเคมี ครั้งแรกที่เคยปลูกต้นไม้ในวัด ปกติจะเข้าไปถวายสังฆทาน ในวันนี้ได้ปลูกต้นไม้ ดินอาจจะแข็งแต่รู้สึกดี ที่ได้ทำตัวให้เป็นประโยชน์ เพราะว่าต้นไม้ที่ปลูกจะทำให้สิ่งแวดล้อมในวัดดีขึ้น มีอากาศที่บริสุทธิ์ ถ้ามีโอกาสอยากเข้าร่วมโครงการแบบนี้อีก ถือเป็นการทำหน้าที่ชาวพุทธที่ดี

ทางด้าน นางสาวกรรณิการ์ เบ็ญจา และ นายพสธร ฉวีวรณ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาสถิติประยุกต์ เล่าว่า ในสาขาวิชามาทั้งหมด 8 คน ด้วยช่วงเช้าไม่มีเรียนและว่าง จึงเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ กิจกรรมภายในโครงการน่าสนใจ ปกติจะไม่ค่อยได้เข้าวัด ถือเป็นโอกาสดีที่ได้มาปลูกต้นไม้วันนี้ ขั้นตอนในการปลูกต้นไม้ไม่ได้ซับซ้อนอะไร ขุดหลุมรองด้วยปุ๋ยของอาจารย์ การทำกิจกรรมในวันนี้ถือว่าได้ทำประโยชน์เพื่อสังคมอีกวิธีหนึ่ง เพราะว่าวัดเป็นสถานที่ของชาวพุทธในการยึดเหนี่ยวจิตใจ

00ชลธิชา ศรีอุบล

กองประชาสัมพันธ์ มทร.ธัญบุรี 0-2549-4994

แสดงความคิดเห็น

[fbcomments count="off" num="5"]