รายงานพิเศษ: ตอกย้ำพลัง สร้างการเปลี่ยนเพื่อชุมชน

ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2564
ไฟ-ฟ้า กิจกรรมสังคมเพื่อความยั่งยืนจากทีเอ็มบีและธนชาต มุ่งมั่นและตั้งใจเดินหน้าจุดประกาย เยาวชนและชุมชน ซึ่งกิจกรรม FAI-FAH for Communities ถือเป็นหนึ่งตัวอย่างสำคัญที่ทำให้ชุมชนและลูกค้า ได้เห็นถึงแนวทางการทำงานตามแนวคิด Make REAL Change โดยธนาคารมุ่งมั่นในการขับเคลื่อน องค์กร ตอกย้ำเรื่องการเป็นผู้นำผ่านการทำงานอาสาสมัคร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของพวกเรา ในการจุดประกายการให้คืนกลับสู่ชุมชน เพื่อสร้างนิยามใหม่ผ่านแนวคิดการดำเนินธุรกิจการธนาคารที่ยั่งยืน ที่ไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องธุรกิจเพียงอย่างเดียว และพร้อมเดินหน้าเพื่อสร้างสรรค์ สิ่งดีๆ ให้ชุมชนต่อไปในปี 2564
“กาญจนา โรจวทัญญู” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการตลาด ทีเอ็มบี กล่าวว่า ท่ามกลางสถานการณ์ โควิด-19 ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา นับเป็นวิกฤตที่พวกเราทุกคนต่างต้องปรับตัว ซึ่งทางทีเอ็มบีและธนชาต มุ่งมั่นดำเนินโครงการกิจกรรมเพื่อสังคมมาอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินกิจกรรม เปลี่ยนเพื่อชุมชนดีขึ้นอย่างยั่งยืน หรือ FAI-FAH for Communities ซึ่งได้เดินหน้าเข้าสู่ปีที่ 7 และในปีนี้ เป็นปีที่สำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นปีแรกที่พนักงานทีเอ็มบีและ ธนชาต ได้รวมพลัง ONE Volunteer Spirit ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว เพิ่มความแกร่งทั้งด้านไอเดีย และโอกาสมากยิ่งขึ้น นำทักษะ และองค์ความรู้ไปช่วยกันเปลี่ยนเพื่อชุมชนดีขึ้นอย่างยั่งยืน พัฒนาให้มีโครงการดีๆ จำนวนมากถึง 30 โครงการ มีชาวชุมชนได้รับผลประโยชน์ทั้งทางตรงและ ทางอ้อมเกือบ 3 หมื่นคน
“ตอบโจทย์ความต้องการ 3 เรื่องหลักที่สำคัญ คือ 1. พัฒนาแบรนด์และสินค้าให้เติบโตต่อเนื่อง (Better Brands & Better Products) 2. พัฒนาศูนย์เรียนรู้ และทักษะเพื่อชุมชน (Better Learning Centers) และ 3. พัฒนางานด้านบริการให้สอดคล้องกับบริบทชุมชน (Better Community Services) เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อชุมชนดีขึ้นอย่างยั่งยืน ต่อไป เรียกว่าอาสาสมัครทีเอ็มบีและ ธนชาต ได้เข้าไปช่วยตั้งแต่การรับฟัง ถึงปัญหา ระดมความคิด รวมถึงการบริหารจัดการ และแก้ไขด้วยแนวทางใหม่ๆ โดยใช้องค์ความรู้ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
“ตมิสา นงค์สูงเนิน” อาสาสมัคร ทีเอ็มบีและธนชาต โครงการพัฒนา สื่อออนไลน์กระจายความรู้ คืนสัตว์สู่ป่ากล่าวว่า ได้เข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัครเป็นปีแรก เหตุที่เลือกโครงการนี้เพราะมองว่าสัตว์ป่าก็ควรได้รับการช่วยเหลือเช่นกัน ประกอบกับพอมีความรู้ในเรื่องสื่อ ดิจิทัล จึงร่วมกับเพื่อนอาสาสมัครในทีม ช่วยกันพัฒนาสื่อดิจิทัลของมูลนิธิช่วย ชีวิตสัตว์ป่าแห่งประเทศไทยทุกช่องทาง เพื่อให้คนสนใจเข้ามาร่วมบริจาคเงิน ช่วยเหลือสัตว์ป่า โดยเข้ามาพัฒนาแบรนด์ให้มูลนิธิฯ เป็นที่รู้จักและจดจำได้ง่ายขึ้น ด้วยการดีไซน์โลโก้ใหม่ให้ทันสมัย พัฒนาสื่อโฆษณาต่างๆ ซึ่งเดิมมูลนิธิฯ มุ่งให้ความรู้กับเด็กๆ ตามโรงเรียน
“นอกจากนี้ ยังช่วยเรื่องแผนการตลาด พัฒนาสินค้าที่ระลึกเพื่อตอบแทน ผู้บริจาคเงิน เพื่อให้มูลนิธิฯ สามารถนำไปต่อยอดใช้ในการระดมทุนต่อไป รวมทั้ง จัดทำตู้บริจาค และดำเนินการให้มูลนิธิเข้าไปอยู่ในแพลตฟอร์ม “ปันบุญ” ของ ทีเอ็มบีเพื่อช่วยเรื่องการบริหารจัดการ แบบครบวงจร ทั้งด้านการเงิน การระดมทุน และการบริหารงานเอกสารต่างๆ ให้แก่ มูลนิธิและองค์กรสาธารณกุศล โดยไม่ต้อง เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งใดๆ ทั้งสิ้น”
“ตมิสา” กล่าวต่อว่าดีใจที่ได้เป็น ส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคม ภูมิใจ ที่องค์กรสนับสนุนให้พนักงานทำงานจิตอาสาเรียนรู้ที่จะช่วยเหลือสังคม ซึ่งทำให้เราได้รับหลายสิ่งกลับมาด้วย นอกเหนือจากความสุขใจแล้ว ยังได้เรียนรู้โลกใหม่อีกใบที่ไม่เคยรู้มาก่อน และนำความรู้เหล่านี้มาแบ่งปันให้คนอื่น บางคนอาจมองว่าการช่วยเหลือสังคมต้องสละเวลา หรือต้องลงพื้นที่ แต่จริงๆ แล้ว งานเพื่อสังคม มีมากกว่านั้น เราสามารถนำทักษะ องค์ความรู้ที่เรามีเข้าไปช่วยเหลือสังคม ได้โดยใช้เวลาเพียงเล็กน้อย สามารถเลือกให้เหมาะสมกับเวลาที่มีอยู่ได้”
อีกหนึ่งเสียงสะท้อนจาก “ว่าที่ร้อยตรีหญิง สิรินทร แย้มยี่สุ่น” อาสาสมัคร ทีเอ็มบีและธนชาต โครงการเอื้อรักษ์ สินค้าดีเพื่อคุณ เพื่อชุมชน เพื่อโลกของเรา เผยว่าโครงการนี้เข้าไปช่วยเหลือ วิสาหกิจ “ชุมชนรักษ์สิ่งแวดล้อม” ซึ่งมีสมาชิกเป็นผู้สูงอายุ ผลิตสินค้า 4 ชนิด ได้แก่ ไม้กวาดจากขวดน้ำพลาสติก ไข่เค็มสมุนไพร ผงพอกสมุนไพร และน้ำยาล้างจาน ที่ได้รับรางวัลที่ 1 จากการเคหะแห่งชาติ ถือว่าเป็นสินค้าที่มี จุดแข็งอยู่แล้ว แต่ชุมชนยังขาดความรู้เรื่องแผนการตลาด จึงเข้าไปช่วยพัฒนาแบรนด์และออกแบบบรรจุภัณฑ์ พัฒนาสินค้าให้ทันสมัย เพิ่มมูลค่าการขาย
“ภายใต้แบรนด์ เอื้อรักษ์ ที่มาจากชุมชนเอื้ออาทรผนวกกับกลุ่มวิสาหกิจรักษ์แวดล้อม พร้อมนำความรู้เรื่องการรับสมัครสมาชิก การจัดสรรรายได้ การประชุมประจำปี เข้าไปช่วยพัฒนาวิสาหกิจ เพื่อเปิดให้คนที่มีความรู้เรื่อง โซเชียลมีเดียเข้ามาเป็นสมาชิก ช่วยเรื่องการขายผ่านออนไลน์”
“ในช่วง 3 เดือนของการดำเนินโครงการ เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งการสร้างแบรนด์ พัฒนาผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่าให้สินค้า รวมทั้งปรับวิธีการผลิต ใช้เทคโนโลยีที่คิดค้นโดยความร่วมมือ ของมหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี คลอง 6 เข้ามาผลิตไม้กวาดจากขวดน้ำพลาสติก ช่วยให้ผลิตสินค้าได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ ชุมชนได้เรียนรู้แผนการตลาดและการวิเคราะห์คำนวณต้นทุนการผลิตก่อนที่จะตั้งราคาขายสินค้า ที่สำคัญสร้างความมั่นใจให้ชุมชนว่าเมื่อเกิดการ เปลี่ยนแปลงสามารถทำให้ทุกอย่างเดินหน้าและดีขึ้นกว่าเดิม”
“ทั้งนี้ สิ่งที่อาสาสมัครทีเอ็มบีและธนชาตเข้าไปช่วยพัฒนา เชื่อว่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ซึ่งความสำเร็จของโครงการเกิดขึ้นได้ด้วยองค์ความรู้ และความมุ่งมั่นของทีมอาสาสมัครที่ช่วยกันบริหารจัดการ ก้าวข้ามปัญหาต่างๆ ทำงานกันเป็นทีม โดยสิ่งที่ได้รับจากโครงการนี้ไม่ใช่แค่ ความสุข ยังได้มิตรภาพที่ได้จากเพื่อนต่างสาขา ได้เห็นวิธีคิดของเพื่อนในทีม ได้เรียนรู้กันและกัน นำความรู้มาส่งต่อ จึงอยากเชิญชวนพนักงานให้นำความรู้ความสามารถที่มีมาช่วยกันส่งต่อให้กับชุมชนและเยาวชนในโครงการของธนาคาร ที่เปิดโอกาสให้เรียนรู้ เพิ่มทักษะใหม่ๆ เหมือนเปิดโลกอีกใบ มีความสุขอย่างแน่นอน”
นับว่าเป็นกิจกรรมสังคมเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้สังคมดีขึ้นอย่างยั่งยืน

แสดงความคิดเห็น

[fbcomments count="off" num="5"]