เผยโครงการวิจัยดูดซับพื้นที่สร้างรายได้สู่ชุมชน

เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 09 ตุลาคม พ.ศ. 2563
ผศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยหลังลงนามความร่วมมือกับภาคีชุมชน บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น โรงแรมบุราภัฏ รีสอร์ท โรงแรมอมตะ ลันตา รีสอร์ท เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน ว่า โครงการดังกล่าวเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากนวัตกรรม การวิจัยและการบริการ วิชาการ สร้างคุณค่าจากผลิตภัณฑ์ และเผยแพร่องค์ความรู้ ก่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน โดยทาง มทร.ธัญบุรี มีการผลักดันและสนับสนุนงานวิจัยในทุกภาคส่วน มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบภารกิจด้านการวิจัย และการถ่ายทอดเทคโนโลยีและด้านอื่น ๆ อย่างครอบคลุม ซึ่งได้ดำเนินการตามนโยบายมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยเข้าสู่มหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม (Innovation University) ภายใต้กรอบแนวคิดเชิงนวัต กรรม ด้วยการปลูกฝังการใช้ความคิดสร้าง สรรค์ เพื่อพัฒนาหรือประดิษฐ์สิ่ง ใหม่ ๆ ที่มีคุณค่า และมีประโยชน์ต่อสังคม เศรษฐกิจ รวมทั้งตอบสนองความต้อง การของภาคประชาชน สามารถนำงานวิจัยต่าง ๆ ไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้จริงและมีคุณภาพ ทางมหาวิทยาลัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับความร่วมมือเช่นนี้ต่อไปในอนาคต เพื่อร่วมกันพัฒนาและขยายตลาดให้กับ ชุมชน และเพิ่มศักยภาพ และขีดความสามารถการแข่งขันของชุมชนด้วยงานวิจัย พัฒนาประสิทธิภาพของผู้ประกอบการให้ทันต่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
ด้าน ผศ.ดร.สลิตตา สาริบุตร อาจารย์ประจำสาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ ทีมผู้วิจัย โครงการวิจัยดูดซับพื้นที่ (ทุนวิจัย สกสว.) ภายใต้ “โครงการนวัตกรรมการตลาด เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน” เผยว่า ตามที่ทางมหาวิทยาลัยได้ดำเนินโครงการวิจัยเป็นระยะเวลา 9 เดือน ซึ่งทีมผู้วิจัยได้ดำเนินงานในเรื่องของการวิเคราะห์และศึกษาความเป็นไปได้ทางธุรกิจ (Feasibility Study) โดยคณะผู้วิจัยเลือกทำการศึกษาคือชุมชน 3 ชุมชนที่มีศักยภาพ ได้แก่ 1.วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์จากถ่านไม้ไผ่ “บันตัน” 2.ชุมชนเกษตรแปลงใหญ่ไผ่เขียว ผลิตหน่อไม้ต้ม
3.ชุมชนเกษตรแปลงใหญ่ไผ่ตำบล ทุ่งโพธิ์ ผลิตหน่อไม้ดองน้ำมะพร้าว (ต่อยอดจากงานวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์) ผู้ปลูกไผ่ในจังหวัดปราจีนบุรี เป็นคนกลางในการรับซื้อผลิตภัณฑ์จากชุมชนเพื่อนำมาจัดจำหน่าย ผ่านศูนย์บริการด้านนวัตกรรมและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ มทร.ธัญบุรี โดยใช้ O2O Model (O2O Model คือโมเดลการพัฒนาช่องทางทั้งรูปแบบ online และ offline เพื่อสร้างช่องทางการจำหน่ายที่ครอบคลุมลูกค้าเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ) สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อผลักดันยอดขาย คือ Mobile Application “ishop” และ Website: www.ishop.rmutt.ac.th สร้างคอนเทนต์บนสื่อโซเชียลต่าง ๆ หลายร้อยคอนเทนต์ทดลองเพิ่มรูปแบบการดำเนินงานใหม่ ๆ เช่น ทำอาหารดิลิเวอรี่ เมนูจากหน่อไม้ ขยายร้านค้าให้เพิ่มมากขึ้น สร้างรายได้ให้แก่นักศึกษาและบุคลาการ ผ่านการเป็นตัวแทนจำหน่าย ที่ผ่านมาสามารถสร้าง ยอดขายได้ 218,552 บาท รายได้กลับคืนสู่ชุมชน 152,986 บาท ช่วยสร้างรายได้แก่นักศึกษา 23,874 บาท และรายได้เข้าศูนย์บริการด้านนวัตกรรมและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ มทร.ธัญบุรี 41,691 บาท.

แสดงความคิดเห็น

[fbcomments count="off" num="5"]