ตลาดงานอาชีวะมาแรง ตอบโจทย์สังคม 4.0

BLT BANGKOK ฉบับวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยใน5เดือนแรกขยายตัว 3.8% ขะเดียวกันความต้องการกำลังคนด้านอาชีวศึกษาก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นโดยเฉพาะความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคระบบราง เพื่อรองรบการคมนาคมขนส่งของประเทศ…P.06
ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยใน 5 เดือนแรกขยายตัวอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ 3.8% ขณะเดียวกันความต้องการกำลังคนด้านอาชีวศึกษาก็เพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคระบบราง เพื่อรองรับการคมนาคมขนส่งของประเศ ตามนโยบายการพัฒนาระบบรางของรัฐบาล
อุตสาหกรรมฟื้นตัว
ความต้องการแรงงานเพิ่ม
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) เปิดเผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(MPI)ประจำเดือน พ.ค. 2561 พบว่า ขยายตัวอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ 3.2% เป็นผลจากการส่งออกที่ฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกทำให้ 5 เดือนแรกของปี 61 MPI ขยายตัว 3.8% อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 69.91% โดยอุตสาหกรรมสคัญที่ส่งผลบวกได้แก่ รถยนต์และเครื่องยนต์ น้ำตาลทราย และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์(ดูอินโฟกราฟิกประกอบ1)
ขณะเดียวกันความต้องการกำลังคนด้านอาชีวศึกษาในประเทศก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมและนโยบายนำประเทศเข้าสู่ Thailand 4.0 ของรัฐบาล จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่สถาบันอุดมศึกษาต้องพัฒนาศักยภาพในการผลิตกำลังคน และทักษะทางด้านดิจิทัล เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ
โดยข้อมูลความต้องการแรงงานอาชีวศึกษาในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ(First s-Curve) และ อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve)ภาพรวมปี 2560-2564 พบว่า กลุ่ม First S-curve ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร มีความต้องการ 103,508 คน และกลุ่ม New S-Curve ได้แก่ หุ่นยนต์ เพื่ออุตสาหกรรมอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร มีความต้องการ 72,017 คน(ดูอินโฟกราฟิกประกอบ 2)
กระทรวงศึกษาเร่งสร้างกำลังคน 4.0
ขณะเดียวกันภาคการศึกษาได้เร่งดำเนินการปฏิรูปการศึกษาตามนโยบาย Thailand 4.0 โดยมีเป้าหมายเพื่อผลิตผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาที่เป็นความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.)เปิดเผยว่าปัจจุบันรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านอาชีวศึกษา สาขาวิชาที่เชื่อมโยงกับ First S-Curve และ New S-Curve ซึ่งจะแสวงหาความร่วมมือและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้ได้คุณภาพมาตรฐานสากล
ล่าสุด ครม.ได้อนุมัติงบประมาณ 14,138 ล้านบาท แบ่งเป็ฯระดับอาชีวศึกษา 1,052 ล้านบาท และอุดมศึกษา 13,086 ล้านบาท สำหรับการผลิตบุคลากรจำนวน 115,626 คน ในโครงการ “ผลิตอาชีวะพันธุ์ใหม่ และบัณฑิตพันธุ์ใหม่ และบัณฑิตพันธุ์ใหม่”เพื่อสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะสูงสำหรับอุตสาหกรรม New Growth Engine ตามการปฏิรูปการอุดมศึกษาไทย ปี 2561-2565 ซึ่งถือเป็นวาระเร่งด่วนของประเทศโดยมีเป้าหมายเพื่อผลิตผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาที่เป็นความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ทั้งให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับสถานประกอบการมาร่วมจัดการสอนและร่วมประเมินผล เพื่อให้ได้คนตรงกับความต้องการ และสามารถรับเข้าทำงานได้ทันทีเมื่อเรียนจบ(ดูอินโฟกราฟิกประกอบ3)
โดยหลักสูตรของอาชีวะพันธู์ใหม่มี 5 สาขาวิชาที่เป็นหลักสูตรปริญญาบัตร(Degree)ได้แก่ ระบบขนส่งทางราง, ช่างอากาศยาน, เมคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์, หุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม, โลจิสติกส์ซึ่งพัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.)และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(มจธ.)
นอกจากนี้มีอีก 1สาขาที่เป็นหลักสูตรประกาศนียบัตร(Non-Degree)คือ เกษตรก้าวหน้า หรือ Smart Farming ซึ่งพัมนาหลักสูตรกับ ม.แม่โจ้ และเตรียมพัฒาให้เป็นหลักสูตร Degree ผ่านการทำงานกับ ม.เกษตรศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งรัฐบาลจะสนับสนุนเงินรายหัวให้กับผู้เรียนหลักสูตรวุฒิบัตรคนละ 60,000 บาท และ 120,000-150,000 บาท/คน/ปี สำหรับผู้เรียนหลักสูตร ปริญญา
มทร.อีสานขึ้นแท่น
ม.ชั้นนำด้านระบบราง
ด้าน ผศ.ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน(มทร.อีสาน) เปิดเผยว่า มทร.อีสาน เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีวิทยาเขตครอบคลุมพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีพื้นฐานความเชี่ยวชาญในด้านโลจิสติกส์และการท่องเที่ยว ด้านเทคโนโลยีการเกษตร และด้านการบริหารและสุขภาพ โดยมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่เป็นนักปฏิบัติ ให้มีความโดดเด่นด้านเกษตร ช่างเทคนิค และบริหารธุรกิจ
ซึ่งขณะนี้ มทร.อีสาน มุ่งเป็นผู้นำในการพัฒนากำลังคนด้านระบบขนส่งทางรางโดยปัจจุบันได้เปิดหลักสูตรด้านระบบรางระดัดบปริญญาตรีหลายสาขาด้วยกัน คือ วิศวกรรมเครื่องกล(ระบบราง), วิศวกรรมไฟฟ้า(ระบบราง), วิศวกรรมโยธา(ระบบราง), วิศวกรรมโลจิสติกส์ เทคโนโลยี โลจิสติกส์ และการจัดการโลจิสติกส์
ล่าสุด เตรียมเปิดสถาบันระบบรางแห่ง มทร.อีสาน ที่ ต.หนองเวียง อ.เมือง จ.นครราชสีมา เพื่อดำเนินการจัดการเรียนการสอนในปี 2562 และจะพัฒนาต่อเนื่องในการเปิดหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) และปริญญาโท-เอก เพิ่มเติม ทั้งหลักสูตรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับ มทร. 9 แห่ง ทั่วประเทศ ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งคาดว่าจะจัดการเรียนการสอนในสองส่วน คือ 1 ภาคพื้นดินเพื่อผลิตช่างซ่อมและผลิตบุคลากรด้านธุรกิจการบินและ 2.ภาคอากาศ เพื่อสร้างนักบินและแอร์โฮสเตส
ผศ.ดร.วิโรจน์ กล่าวต่อว่า การปรับตัวของมทร.อีสาน สู่การเป็นสถาบันอุดมศึกษาไทยในยุค 4.0 นั้น ถือเป็นการปรับตัวให้รองรับอาชีพที่หลากหลาย สามารถแข่งขันกับมหาวิทยาลัยนานาชาติได้อย่างเท่าเทียม พร้อมทั้งขับเคลื่อนความเจริญก้าวหน้าของประเทศอย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยมีหัวใจสำคัญคือ “การสร้างนวัตกรรมและพัฒนาศักยภาพมนุษย์”ให้มีคุณภาพสูงขึ้น เน้นการเพิ่มมูลค่าทรัพยากรและผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งเป็นสังคมของการแบ่งปันและปรับตัวสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ในยุคโลกาภิวัฒน์
ขณะเดียวกันด้าน มทร.ธัญบุรี เดินหน้าเป็นแกนหลักในการสร้างนักวิจัยทำงานร่วมภาคอุตสาหกรรม โดยได้รับทุนจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตรกรรมแห่งชาติ(สวทรน.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.) จำนวน 8 ล้านบาท ให้ดำเนินโครงการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญอุตสาหกรรมรุ่นใหม่ เพื่อยกระดับความสามารถด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในภาคเอกชน หรือ TM ACADEMY(ทีเอ็ม อะคาเดมี่) เน้นให้อาจารย์ นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเข้าไปทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรม เพื่อการแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิค วิจัยพัฒนามาตรฐานและการจัดการนวัตกรรม ทำให้ภาคธุรกิจมีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลก
ความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกิดขึ้นการันตีได้ว่ากำลังคนภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะด้ดานระบบรางเป็นที่ต้องการอย่างมากจากการคมนาคมของประเทศที่กำลังเข้าสู่ยุคของระบบราง สอดคล้องกับตลาดงานที่มีบริษัทมากมายรองรับ อาทิ การรถไฟแห่งประเทศไทย รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดินกลุ่มบริษัทค้าปลีกและห้างสรรพสินค้าชั้นนำรวมทั้งผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มบริษัทและจัดจำหน่ายรถไฟ ชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับรถไฟ และระบบรางทั้งในและต่างประเทศ รองรับได้ว่าในยุคนี้คนเรียนอาชีวศึกษาไม่ตกงานแน่นอน
Thailand 4.0 Policy Attributed to High Demand for Vocational Students
Thailand’s industry sector has registered constant growth during the first five months of this year while demandd for personnelwith vocational training is on the rise.
The Office of Industrial Economics revealed that Thailand’s Manufacturing Production Index rose to 3.2% in May on the back of export recovery, while the country’s capacity utilization, which gauges how fully utilized plants are, was at 69.91%
At the same time, market demand for vocational students has been rising in tandem with the recovery of the industry sector and the implementation of the Thailand 4.0 policy. This means institutions of higher education will need to boost their capacity to introduce more qualified personnel nd to improve digital skills of their students to accommodate Thailand’s need forhigher competitiveness.
The Office of Vocational Education Commission(OVEC)said that the government and the Ministry of Education already put an emphasis on the education reform especially in the area of vocational study, which is to be more connected with the country’s 10 targeted industries (First S-Curve & New S-Curve industries).
According to OVEC, the Cabinet has approved 14.13 billion baht in budget to vocational schools and universities to train 115,626 students with high caliber to support industries designated as the country’s “new growth engines”
Rajamangala University of Technology Isan, which is one among those active in pushing themselves to achieve this goal, claims to possess a high level of specialization in logistics and tourism,agricultural technology as well as health care service. It also plans to introduce a rail technology program in 2019 and a collaborative plan with nine other fellow Rajamangala universities nationwide to promote the study in aviation industry in a near future.

แสดงความคิดเห็น

[fbcomments count="off" num="5"]