รายงานพิเศษ: ‘ผ้าขาวม้า’ จากเส้นไหมสู่เส้นทางเศรษฐกิจ จุดเชื่อมต่อการพัฒนาระดับฐานรากอย่างยั่งยืน

ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2561
กองบรรณาธิการ

หากจะนิยามว่า “เทศกาลสงกรานต์” คือช่วงเวลาของการเดินทางกลับบ้านที่มีความสุขคงจะไม่ผิดนัก ความสุขที่มาจากการได้กลับไปกอดไออุ่นและรสชาติอาหารที่คุ้นเคย ความสนุกจากการได้พบปะพูดคุยญาติสนิทมิตรสหายที่ปีหนึ่งจะได้เจอกันสักครั้ง วิถีปฏิบัติที่หลอมรวมกับความเชื่อทั้งเรื่องพุทธ เรื่องผี ทำให้สงกรานต์คือเทศกาลที่ทรงพลังที่สุดเทศกาลหนึ่งในระเบียบความคิดของสังคมไทย
ราว 10 ปีที่ผ่านมาหนึ่งในสัญญาณเตือนว่า วันเวลาของเทศกาลสงกรานต์ใกล้เข้ามาทุกขณะคือความหนาแน่นของเสื้อลายดอกหลากหลายรูปแบบที่เรียงรายไปทั่วทุกหัวมุมถนน ขนาดห้างสรรพสินค้าดัง ยังเลือกให้แต่ละแบรนด์นำเสนอเสื้อผ้าลวดลายดอกไม้สีสันสดใสดึงดูดให้ลูกค้าเลือกซื้อเลือกหาไปสวมใส่เฉลิมฉลองในเทศกาลสำคัญนี้ อย่างไรก็ตามในปีนี้ กระแสความนิยมเรื่องผ้าไทยได้เข้ามาแทนที่ นอกจากความตื่นตัวในการเลือกหาผ้านุ่งผ้าสไบจนตลาดสำเพ็งและตลาดพาหุรัดอัดแน่นไปด้วยผู้คนตั้งแต่รุ่งเช้าแล้ว อีกหนึ่งความตื่นตัวที่ได้รับการสานต่อมาเป็นปีที่ 2 ปรับโฉมผ้าขาวม้า ผ้าทอสารพัดประโยชน์ผืนละ 100 บาท เป็นผืนผ้าที่ทรงคุณค่า นำความภาคภูมิใจจากการอวดโฉมอย่างสง่างามในระดับโลกไปสู่มือเล็กๆ ที่ค่อยๆ เคลื่อนกี่อย่างเป็นจังหวะสร้างงานศิลป์ที่ทอด้วยมือถักด้วยหัวใจ กับโครงการ “ผ้าขาวม้า
ท้องถิ่น หัตถศิลป์ไทย 2561”
การตระหนักในคุณค่าของผ้าขาวม้า ผ้าทอมือที่สะท้อนเอกลักษณ์และวิถีความเป็นอยู่ของสังคมพื้นบ้านไทยอย่างแท้จริง คือจุดเริ่มต้นของการรวมพลังสร้างสรรค์โครงการตั้งแต่ระดับฐานรากอย่างเป็นระบบ ภายใต้การดำเนินงานของคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ซึ่งมีคุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เป็นหัวหน้าทีมภาคเอกชน ประสานพลังแบบบูรณาการจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ทำให้ผ้าขาวม้าก้าวสู่การเป็นตัวแทนของเส้นใยที่ถักทอเชื่อมต่อยุคสมัย นำมูลค่าสร้างคุณค่าคืนความสุขสู่ทุกครัวเรือนอย่างแท้จริง
ต่อยอดภูมิปัญญา ปลุกชีว6ตผ้าขาวม้าไทย
“จากการลงพื้นที่เมื่อปี 2559 ในหลากหลายชุมชนกว่า 30 จังหวัด เราพบเจอผ้าขาวม้าทอมือ ซึ่งถือเป็นอัตลักษณ์ที่สำคัญอยู่คู่กับสังคมการใช้ชีวิตของคนไทยมาอย่างยาวนาน และนี่กลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทาง บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด และภาคีเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็น กรมการพัฒนาชุมชน บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมกันปักหมุดและต่อยอดการพัฒนาผ้าขาวม้าไทย เพราะถ้าหากเราสร้างประโยชน์จากผืนผ้าลายตารางดังกล่าวได้แล้วนั้น จะสามารถสร้างรายได้ มหาศาลให้กับชุมชน ซึ่งถือเป็นการตอกย้ำ การยกระดับชุมชนให้สามารถมีรายได้และเลี้ยงตัวเองได้อย่างยั่งยืนบนกรอบพื้นฐานความภูมิใจในการสานต่อหัตถกรรมที่มีคุณค่ามาตั้งแต่อดีต”
ข้อมูลซึ่งชี้ให้เห็นถึงลักษณะสำคัญของผ้าขาวม้าที่แทรกอยู่ในวิถีชีวิต ข้องเกี่ยวกับความเชี่ยวชาญ ความชำนาญในชุมชนจากคุณต้องใจ ธนะชานันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ในงานแถลงข่าวการเปิด”โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถศิลป์ไทย 2561″ เป็นปีที่ 2 ปูทางสู่การกำหนดแนวทางการพัฒนางานหัตถกรรมอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปเสริมองค์ความรู้ให้แก่ชุมชน การสร้างคนรุ่นใหม่ให้ไม่ได้เป็นเพียงลูกค้า ผู้ใช้งาน หรือผู้เรียนรู้ แต่พร้อมจะเป็น “ทายาทผ้าขาวม้า” ที่มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ยกระดับผืนผ้าด้วยนวัตกรรมให้มีความร่วมสมัย นอกจากนั้นเพื่อกระตุ้นให้ผ้าขาวม้าได้รับการพัฒนาอย่างถูกทิศทาง และสร้างความตื่นตัวในทุกชุมชนอย่างแท้จริง บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด จัดให้มีการประกวดผ้าขาวม้าเพื่อชิงรางวัลประเภทต่างๆ ทั้งรางวัลผ้าขาวม้าความคิดสร้างสรรค์ รางวัลผ้าขาวม้าอัตลักษณ์ประจำชุมชน เป็นต้น การดำเนินการในลักษณะดังกล่าวนอกจากผลักดันให้แต่ละชุมชนร่วมคิดร่วมสร้างผืนผ้าไปพร้อมๆ กันแล้ว ยังเป็นการให้ความรู้ประชาชนทั่วไปถึงเอกลักษณ์และความแตกต่างของผ้าขาวม้าในแต่ละพื้นที่ซึ่งเพียงแค่ความห่างของลายตาราง สีสันของการจัดเรียงเส้นยืนและเส้นพุ่งที่แตกต่างกัน รวมถึงลวดลายที่ซ้อนอยู่ภายในคือสัญลักษณ์แห่งภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดกันมาหลายชั่วอายุคน
คุณจีรวรรณ จันทะเลิศ กลุ่มสืบสานต่อผ้าทอมือ บ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ผู้ชนะเลิศการประกวดประเภทรางวัลผ้าขาวม้าสร้างสรรค์ปี 2561 ในผลงาน ผ้าขาวม้า 7 สี ให้ข้อมูลว่า จากการเข้าอบรมเชิงลึกในโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถศิลป์ไทย ตลอดปีที่ผ่านมา เกิดเป็นความรู้สึกตื่นตัวในการทดลองทำสิ่งใหม่ๆ จึงได้นำองค์ความรู้ในเรื่องของการย้อมสีธรรมชาติมาปรับใช้ในการผลิต จุดเริ่มต้นจากการใช้สีใหม่ๆ นำมาปรับใช้อย่างเหมาะสม รังสรรค์อย่างพิถีพิถันทำให้ผ้าขาวม้า 7 สี คว้ารางวัลชนะเลิศมาได้ สำหรับแรงบันดาลใจของการผลิตผลงานชิ้นนี้มาจากการสืบทอดการถักทอจากชนเผ่าไทยพวน ตลอดจนการมองเห็นธรรมชาติ ทุกคราเมื่อฝนตกจะเกิดสายรุ้งขึ้นมาก็เลยมีความคิดอยากผลิตผ้าจากบรรพบุรุษให้มี 7 สี ด้านขั้นตอนการผลิตใช้เปลือกไม้มาเป็นวัสดุหลักในการย้อมสี หมักด้วยโคลน โดยสีแดงเกิดจากเปลือกประดู่ สีขาวจากดอกฝ้าย สีครามจากต้นคราม สีเหลืองจากเปลือกมะม่วง ขนุน เป็นต้น
พร้อมกันนี้ยังได้พูดคุยกับคุณบัวเรียน ฉวีลักษณ์ กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านดงสว่าง จ.อุบลราชธานี อีกหนึ่งผู้เข้าประกวดที่คว้ารางวัลรองชนะเลิศจากประเภทผ้าขาวม้าจากวัตถุดิบธรรมชาติและสีธรรมชาติในผลงานชื่อ หนองบัวฮี เผยว่า ตนอยู่ในชุมชนนาจะหลวยในจังหวัดอุบลฯ ประกอบอาชีพหัตถศิลป์ผ้าขาวม้าทอมือเป็นงานหลักตามบ้านต่างๆ และนำผลงานออกไปจัดจำหน่ายตามงานต่างๆ ซึ่งนอกจากเครื่องแต่งกายเรายังนำผ้าขาวม้าไปแปรรูปในรูปแบบอื่นๆ เช่น ผ้าปูโต๊ะ ผ้าคลุม ผ้ารอง รวมทั้งผ้าพันคอ
สำหรับลวดลายของชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์ คือ ลายกาบบัว ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของผ้าลายพื้นเมืองจังหวัดอุบลฯ ทั้งนี้การตั้งชื่อแต่ละผลงานเราเลือกสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด อาทิ น้ำตกห้วยหลวง ซึ่งผ้าขาวม้าชิ้นนี้คว้ารางวัลอัตลักษณ์ประจำชุมชน เป็นต้น และเคล็ดลับที่สำคัญในการผลิตผ้าขาวม้าคือการเลือกใช้โทนสีที่ทำมาจากธรรมชาติ โดยสามารถหาได้ง่ายตามท้องถิ่น อาทิ เปลือกไม้ ดอกไม้ ชนิดต่างๆ โดยทั้งหมดนำมาย้อมจริงและผลิตจนคว้ารางวัลในครั้งนี้ได้อย่างภาคภูมิใจ ที่สำคัญเสน่ห์ของสีธรรมชาตินอกจากสวยงามและสีไม่ตกแล้วนั้นยังมีความคงทน ดูแล้วงดงาม สามารถใช้สอยได้อย่างปลอดภัยและรู้สึกใกล้ชิดกับธรรมชาติ
ลวดลายบนพื้นผ้าขาวม้า แม้จะดูเหมือนๆ กัน แต่สามารถผลิตออกมาได้กว่า 2 แสนลวดลาย แต่ถ้าหากให้จำแนกออกเป็นลวดลายกลุ่มใหญ่ๆ ที่เราพบเจอ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ตาหมากรุก ตามะกอก ลายตารางใหญ่ และลายตารางเล็ก สำหรับโทนสีแล้วแต่ละชุมชนที่สามารถหาได้ โดยส่วนใหญ่เป็นสีที่มาจากพืชพรรณธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น ขมิ้นสีเหลือง เปลือกหอมใหญ่สีน้ำตาลอมส้ม ถั่วดำในโทนสีม่วง ใบหูกวางสีน้ำเงิน ผลมะเกลือโทนสีดำ เป็นต้น
อวดโฉมผ้าขาวม้าไทยบนรันเวย์ระดับโลก
ลวดลายที่เรียบง่าย แต่ผ่านการคิดและการวางแผนเรียงต่อสีอย่างละเอียดทำให้ลายตารางที่ปรากฏ บนผ้าขาวม้าเมื่อได้รับการออกแบบสีที่สอดคล้องกับยุคสมัย จึงปรากฏให้เห็นในลักษณะของการนำผ้าขาวม้ามาตัดเย็บเป็นชุดต่างๆ มากขึ้น ตั้งแต่ชุดที่สวมใส่โดยทั่วไป รวมถึงชุดที่ได้รับการออกแบบและตัดเย็บด้วยเทคนิคขั้นสูง ตลอดหลายปีที่ผ่านมาการตระหนักรู้ จากผู้บริโภคโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ทำให้การสวมใส่ผ้าขาวม้าทั้งในช่วงงานเทศกาลที่สะท้อนศิลปวัฒนธรรมไทย รวมถึงการสวมใส่ในชีวิตประจำวันเป็นเรื่องที่สร้างสรรค์ ไม่เพียงเท่านั้นผ้าขาวม้าจะกลายเป็นไอเดียใหม่ที่ทำให้นักออกแบบยุค 4.0 ได้นำไปเป็นองค์ประกอบหลักในการพัฒนาที่มากกว่าเครื่องแต่งกายจนแทรกซึมไปในรูปแบบของการพาณิชย์ อาทิ กระเป๋า หมวก และชิ้นงานต่างๆ ที่สอดคล้องกับการใช้งานและรสนิยมของผู้ใช้มากขึ้นตามลำดับ
หนึ่งตัวอย่างที่สำคัญที่โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถศิลป์ไทย เข้ามาเชื่อมโยงผ้าขาวม้าและสร้างโอกาสให้กับคนรุ่นใหม่ คือ การนำแฟชั่นผ้าขาวม้าไทยไปจัดแสดงที่ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในรูปแบบของการเดินโชว์ โดยได้เยาวชนคนรุ่นใหม่ออกแบบผ้าขาวม้าทอมือให้เป็นชุดราตรี ซึ่งจากการพูดคุยกับ น.ส.กนกรัตน์ มณีรัตนากร และ น.ส.ลาวัลย์ ศรีบุญนาค นักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาออกแบบแฟชั่นและศิลปะสิ่งทอ ม.ราชมงคลธัญบุรี ทีมงานนักออกแบบที่คว้ารางวัลชนะเลิศ เปิดเผยว่า รู้สึกดีใจที่สามารถนำผ้าขาวม้าซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักมาพรีเซ็นเตอร์ได้อย่างน่าสนใจ โดยแรงบันดาลใจของการออกแบบนั้นมาจากความภูมิใจ เพราะผ้าขาวม้ามีความสวยงามอย่างโดดเด่น แม้จะดูเรียบง่าย แต่มีเสน่ห์และที่สำคัญเป็นมรดกที่อยู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน
การส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่เลือกใช้สินค้าและผลิตภัณฑ์ในประเทศไม่เพียงเปิดทางสู่การพัฒนางานหัตถกรรมไทยให้สามารถเชื่อมต่อกับความต้องการของยุคสมัยได้อย่างตรงจุด ภายใต้แนวคิด “นวอัตลักษณ์” ของบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด นอกจากการสร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์แล้ว ยังมุ่งสร้าง “ทายาทผ้าขาวม้า” ที่เริ่มต้นจากการจัดการประกวดออกแบบผ้าขาวม้าทอมือใน 3 สาขา คือ สาขาแฟชั่น สาขาเคหะสิ่งทอ และสาขาการออกแบบลายผ้าขาวม้า แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการวางอิฐก้อนแรกนำทางให้คนกลับบ้าน นำองค์ความรู้จากการศึกษาเล่าเรียนและประสบการณ์ในเมืองใหญ่มาประยุกต์ใช้กับสิ่งที่มีในท้องถิ่น นำทั้งความสุขและความมั่นคงมาสู่ครัวเรือนเฉกเช่นเดียวกับการกลับบ้านในช่วงสงกรานต์ แต่เป็นการกลับบ้านแบบถาวร
จากสีสันสู่สืบสาน สร้างชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตว6ถี
ตลอดหลายปีที่ผ่านมาความสำเร็จจากการพัฒนาสินค้า OTOP ให้มีคุณภาพ เติบโตและได้รับการยอมรับในตลาดระดับสากลคือความท้าทายที่รัฐต้องเผชิญ อย่างไรก็ตามการผลักดันอย่างต่อเนื่องจากนโยบายแบบเดียวกันทำให้สินค้า OTOP ในแต่ละพื้นที่ไม่สามารถเติบโตและประสบความสำเร็จไปได้พร้อมๆ กัน ย้อนกลับมาสู่การกำหนดแนวคิดใหม่ เปลี่ยนจากความคิดแบบ One size fit all เป็นการพิจารณาลักษณะเฉพาะในแต่ละชุมชนมากยิ่งขึ้นจนเกิดเป็นแนวคิดการพัฒนา OTOP รูปแบบให้ “ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี”
ภายใต้แผนดำเนินงานของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย การปรับนโยบายจากการผลิตสินค้าเพื่อออกไปจำหน่ายเปลี่ยนเป็นการสร้างสรรค์สินค้าให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวอยู่ภายในชุมชน นำเสนอภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม รวมถึงเสน่ห์ที่แฝงอยู่ภายใต้การเสพรสชาติความสุขในพื้นที่ของชุมชนต้นกำเนิดผลิตภัณฑ์อย่างแท้จริง ภายใต้ความรู้สึกของการเป็น “เจ้าบ้าน” การนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดภายใต้ความอบอุ่นและเป็นกันเองคือเอกลักษณ์ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่เกาะกลุ่มอยู่ในเมืองใหญ่ 22 จังหวัด ให้ออกเดินทางสู่เมืองรอง 55 จังหวัดอย่างมีความหมาย และในฐานะที่ “ผ้าขาวม้า” คือสิ่งสะท้อนตัวตนของชุมชนอย่างแท้จริง เส้นทางผ้าขาวม้าคือต้นทางนวัตวิถีที่เป็นคำตอบของการท่องเที่ยวไทยในทศวรรษหน้าและตลอดไปก็เป็นไปได้
จุดเริ่มต้นจากผ้าขาวม้าที่มีลักษณะโดยรวมคล้ายๆ กันไปหมดทุกผืน หากแยกเป็นการเดินทางตามหาของดี เรียนรู้ท้องถิ่นแบบชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ผ้าขาวม้าสามารถพานักท่องเที่ยวเดินทางไปยังจังหวัดต่างๆ ได้ดังนี้
ผ้าขาวม้าร้อยสี จังหวัดกาญจนบุร7
ที่บ้านหนองขาว อำเภอท่าม่วง ขึ้นชื่อในเรื่องของการออกแบบการทอผ้าขาวม้าที่สวยสะดุดตา ด้วยการเลือกใช้ไหมประดิษฐ์สีสดๆ สารพัดสี ถักทอด้วยลวดลายแบบโบราณ ทอเก็บยกลายตลอดทั้งผืน ลายที่ขึ้นชื่อต้องยกให้ลายตาจักซึ่งทอได้เฉพาะผู้ที่มีความชำนาญเท่านั้น รวมถึงลายอื่นๆ อย่าง ลายหมากรุก ลายตาคู่ ลายตาเล็ก เป็นต้น
ผ้าขาวม้าลายตารางหมากรุกพระนครศร7อยุธยา
จุดเด่นคือลวดลายคละสลับกันเป็นตารางขนาดครึ่งนิ้ว และมีสองสีสลับด้าน ด้านตามยาวของปลายทั้งสองข้าง ทำเป็นลายริ้วสลับสีกัน เช่น ขาว-แดง แดง-ดำ ขาว-น้ำเงิน
ผ้าขาวม้า 5 สี ของดีตำบลเนินขาม อำเภอหินตา ผ้าขาวม้า 5 สี ของดีตำบลเนินขาม อำเภอหินตา จังหวัดชัยนาท
โดดเด่นด้วยผ้าขาวม้าซึ่งทอแบบเดียวกับผ้ามัดหมี่คือการมัดแล้วย้อมเป็นสีต่างๆ และใช้สีถึง 5 สี คือ สีแดง เหลือง ส้ม เขียว ขาว
ผ้าขาวม้าลพบุร7 อำเภอบ้านหมี่
การวางลายและสีสันที่ได้รับอิทธิพลจากชาวไทยพวนที่อพยพจากประเทศลาว เกิดเป็นความโดดเด่นของสีสันและฝีมือการทอที่ละเอียดประณีตน่าจับจอง
ผ้าขาวม้ามหาสารคาม
ชุมชนที่มีชื่อเสียงคือบ้านหนองหิน ตำบลโคกก่อ อำเภอเมือง เอกลักษณ์โดดเด่น คือทอมือสีธรรมชาติ พัฒนาลวดลายให้ทันสมัย มีคุณภาพดีจนส่งไปจำหน่ายยังประเทศญี่ปุ่นในนาม “ศิลาภรณ์” และยังแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า ผ้าห่ม เป็นต้น
ผ้าขาวม้าลายหมี่กง จังหวัดขอนแก่น
ความสวยวิจิตรแบบร่วมสมัยของลายต้นแบบและเป็นลายเก่าแก่ของผ้าเมืองขอนแก่น เน้นที่สีม่วง แดง เขียว ซึ่งจัดเป็นสีดั้งเดิมของผ้าขาวม้าขอนแก่น ประกอบกับลักษณะการทอแบบ 3 ตะกอจึงทำให้ผ้าหนาเนื้อแน่น
ผ้าขาวม้ามีเชิง
ซึ่งพบในพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอสูงเม่น อำเภอสอง และอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ด้วยลักษณะการทอแบบ “จก” ทำให้เกิดเป็นลวดลายเพิ่มเติมเข้าไปในตัวผ้า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลายสัตว์ตามคตินิยมความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละกลุ่มชน เช่น ลายนก ลายช้าง ลายม้า เป็นต้น
ผ้าขาวม้าเมืองน่าน
ปรากฏการสืบทอดมรดกภูมิปัญญาตั้งแต่ภาพเขียนสีในวัดภูมินทร์ คนในพื้นที่เรียกผ้าชนิดนี้ว่า “ผ้าตะโก้ง” ทอด้วยฝ้ายที่ปั่นด้วยมือ ลักษณะสัมผัสจะมีความหนา นุ่ม ย้อมด้วยสีธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น สีจากเปลือกไม้กลัด ไม้ประดู่ มะเกลือ ใบสัก เป็นต้น เดิมจะนิยมทอผ้าขาวม้าเป็นสีแดงดำ ซึ่งเป็นสีดั้งเดิม แต่ปัจจุบันนิยมทอผ้าขาวม้าให้มีสีคลาสสิกมากยิ่งขึ้น โดยเน้นสีเขียว ฟ้า น้ำตาล เป็นสีที่กลมกลืนกับธรรมชาติบริเวณชายผ้ามักจะจกลายช้าง ลายม้า ลายเจดีย์ ลายยกดอก ลวดลายที่ทอเน้นเกี่ยวกับความเชื่อ ความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ใช้อันเป็นเอกลักษณ์ของผ้าเคียนเอวของคนล้านนา
เห็นได้ว่า “ผ้าขาวม้า” เพียงหนึ่งผืนนอกจากเป็นผ้าสารพัดประโยชน์ ผูกพันกับวิถีชีวิตประจำวันของคนไทยตลอดชั่วอายุขัยแล้ว “ผ้าขาวม้า” ยังเป็นจุดเชื่อมต่อของเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่กลมกล่อมและกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันอย่างไร้ที่ติ
“ผลของการชนะเลิศทำให้เรานำองค์ความรู้ไปถ่ายทอดในชุมชนทั้งในหมู่บ้านและใกล้เคียงได้อย่างแพร่หลาย ที่สำคัญเกิดการสวมใส่มากยิงขานโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ และรองรับการผลิตเพาอการจัดจำหน่ายโดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ซึ่งเราเชื่อว่าผ้าขาวม้าจะได้รับความสนใจอย่างมากสำหรับการแต่งกายเพาอออกไปเล่นสงกรานต์ด้วยชุดผ้าขาวม้า ซึ่งไม่เพยงแต่ความสวยงาม แต่ยังแห้งง่าย ดูมีสไตล์และแสดงออกถึงรสนิยมไทยได้อย่างภูมิใจ
“ผ้าขาวม้ามีเอกลักษณ์ที่ลายเส้น สามารถนำไปออกแบบ เป็นกระเป๋าหราอของใช้เพาอตอบโจทย์การใช้งานอื่นๆ ได้อย่างหลากหลาย ไม่เพายงเท่านั้นยังรวมไปถึงเคราองแต่งกายต่างๆ ทั้งกางเกง เสื้อผ้า และการรังสรรค์สีสันสำหรับการเป็นผ้าพันคอก็สวยงามไม่แพ้ใคร”

แสดงความคิดเห็น

[fbcomments count="off" num="5"]