นศ.มทร.ธัญบุรี ออกแบบของเล่นสร้างสมาธิเด็ก

“ในการออกแบบและพัฒนาของเล่นสร้างสมาธิเด็กอายุ 3-6 ขวบ เพื่อให้เด็กรู้จักควบคุมตนเองและสร้างสมาธิให้ดียิ่งขึ้น โดยของเล่นจะทำให้เด็กได้ใช้ทักษะของตนเองในการสังเกต แก้ปัญหา และใช่ความอดทน ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดสมาธิรู้จักควบคุมตนเอง ทำให้เด็กมีพฤติกรรมด้านอารมณ์และสมาธิที่ดี เมื่อตัวเด็กเกิดสมาธิที่ดีจะส่งผลไปถึงความจำของเด็กและการเป็นเด็กที่มีคุณภาพ” “ปูนิ่ม” นางสาวอธิษฐาน แพน้อย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เจ้าของผลงานของเล่นสร้างสมาธิเด็กอายุ 3 – 6 ขวบ นางสาวอธิษฐาน แพน้อย นักศึกษาสาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ เล่าถึงผลงานศิลปนิพนธ์ชิ้นงานจบการศึกษา

นางสาวอธิษฐาน แพน้อย เล่าว่า เหตุผลที่ทำของเด็กเล่นและเกี่ยวกับสมองเพราะเนื่องด้วยตนเองมีน้องชายอายุ 6 ขวบ ตอนนั้นที่ น้องชายติดโทรศัพท์มาก ซึ่งส่งผลต่อสมองของน้องชาย น้องไม่คอยมีสมาธิในการทำอะไรนานๆ ดังนั้นถ้าเด็กมีสมาธิทำให้สมองทำงานได้ดีเพราะสมองเป็นส่วนสำคัญจริงๆ สองปีที่แล้วตนเองเคยได้รับการผ่าตัดสมอง รู้ดีว่าการที่สมองทำงานผิดปกติ เพียงนิดเดียวส่งผลอย่างไรบ้างตนเองคิดเพียงว่าสิ่งที่ตนเองออกแบบและพัฒนาทำ จะส่งผลดีต่อเด็กทุกคนที่เกิดปัญหานี้ บวกกับจากการหาข้อมูลพบว่ากระทรวงสาธารณสุข ออกมาเปิดเผยว่าเด็กไทยป่วยสมาธิสั้นกว่า 1 ล้านคน ซึ่งสาเหตุหลักในการเกิดโรคสมาธิสั้นนั้น เกิดจากการเลี้ยงดูของผู้ปกครองที่กระตุ้นให้เด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นมีอาการแย่ลง การเลี้ยงดูให้เด็กอยู่กับสื่อมีเดียประเภทต่าง ๆ ซึ่งผิดจากธรรมชาติที่เด็กจะต้องได้เล่นอย่างเหมาะสมกับวัย

แนวทางในการเสริมสร้างพัฒนาส่งเสริมกิจกรรมเพื่อให้เด็กได้มีการเสริมสร้างพัฒนาสมาธิ เป็นการสร้างกิจกรรมที่ให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการเล่น อาจไม่ได้เล่นเป็นระยะเวลานานมากเพราะเด็กในช่วงวัยนี้มักไม่อยู่เฉย กิจกรรมที่ใช้ในการช่วยฝึกสมาธิให้แก่เด็ก คือ การวาดรูป การใช้ศิลปะมาเป็นส่วนช่วยในการฝึกแต่เด็กทุกคนไม่ได้มีพื้นฐานการวาดรูป จึงเป็นกิจกรรมที่ช่วยได้เพียงเด็กลุ่มหนึ่ง เด็กนั้นจะอยู่นิ่งได้อยู่   ที่ 15 นาทีโดยประมาณ กิจกรรมนั้นควรเป็นสิ่งที่เด็กสามารถทำได้ไม่ยากและน่าสนใจในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่เด็กเล่น เพื่อเป็นการช่วยเสริมเสร้างสมาธิเพื่อให้เด็กได้รู้จักการควบคุมตนเอง ลดพฤติกรรมก้าวร้าว รู้จักการอดทนรอคอยมากขึ้น ตนเองจึงได้ออกแบบและพัฒนาของเล่นเด็กสร้างสมาธิสำหรับเด็กช่วงอายุ 3 -6 ขวบขึ้นมา

โดยได้แนวคิดมาจากต้นไม้ที่มีกิ่งก้านแตกแขนงออกด้านข้าง และมีการเลือกใช้สีที่เหมาะสมกับการรับรู้ของเด็กอายุ 3 – 6 ขวบ โดยมีระดับความยากง่ายในการเล่น ทำให้เด็กสามารถมีสมาธิได้ 15 -20 นาที ในการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย ข้อมูลภาคปฐมภูมิและข้อมูลภาคทุติยภูมิ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาล 1- 3 โรงเรียนปิยวัฒนศาสตร์ เด็กผู้ชาย 50 คน เด็กผู้หญิง 50 คน ผู้เชี่ยวชาญเด็กจำนวน 2 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบจำนวน 2 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุและการผลิต จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบประเมินประสิทธิภาพ ผลของการวิจัย ด้านการใช้งาน ด้านความสวยงาม ด้านความปลอดภัย ในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มคุณครูสอนอนุบาลและกลุ่มผู้ปกครอง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากต่อการออกแบบและพัฒนาของเด็กเล่นสร้างสมาธิสำหรับเด็กช่วงอายุ 3-6 ขวบ ในการเพิ่มสมาธิและเพิ่มการควบคุมตนเอง จากภาพรวมส่วนใหญ่มีความคิดเห็นที่สอดคล้องกันอยู่ในระดับมาก ประสิทธิภาพในการวิจัยพบว่า เด็กเล่นของเล่นอยู่ในระดับเวลาที่ดี มีความเหมาะสมต่อเด็ก การให้ความคิดเห็นประสิทธิภาพอยู่ในระดับที่มาก

“ของเล่นสร้างสมาธิ สำหรับเด็ก 3 – 6 ขวบ ที่ตนเองช่วยเสริมเสร้างสมาธิเพื่อให้เด็กได้รู้จักการควบคุมตนเอง ลดพฤติกรรมก้าวร้าว รู้จักการอดทนรอคอยมากขึ้น ของเล่นสร้างสมาธิอาจต้องมีรูปแบบการเล่นให้มีความน่าสนใจ มีลูกเล่นในการเล่นเพื่อให้เกิดการคิด รูปทรงมีความหลากหลายมากขึ้น มีรูปทรงธรรมชาติ รูปทรงการ์ตูน เพื่อประสิทธิภาพในการสร้างสมาธิที่ดีให้เด็กต่อไป” นางสาวอธิษฐาน แพน้อย กล่าวทิ้งท้าย

 

                                    00ชลธิชา ศรีอุบล

                        กองประชาสัมพันธ์ มทร.ธัญบุรี 0-2549-4994

แสดงความคิดเห็น

[fbcomments count="off" num="5"]