มทร.ธัญบุรีจัดทำมาตรฐานวิชาชีพธุรกิจอีคอมเมิร์ชและเว็บไซต์

มทร.ธัญบุรี ร่วมกับ สคช. จัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและดิจิทัลคอนเทนต์ สาขาธุรกิจอีคอมเมิร์ซและเว็บไซต์ โดยมีผู้ประกอบการในสาย IT , E-commerce มากกว่า 100 คน เข้าร่วมโครงการ

นายพงศ์พิชญ์ ต่วนภูษา รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
นายพงศ์พิชญ์ ต่วนภูษา รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

นายพงศ์พิชญ์ ต่วนภูษา รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ร่วมกับ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ได้จัดทำโครงการ จัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและดิจิทัลคอนเทนต์ สาขาธุรกิจอีคอมเมิร์ซและเว็บไซต์ ใน ๔ กลุ่มงาน ๗ อาชีพ ประกอบด้วย กลุ่มนักพัฒนาระบบ (Developer) (นักพัฒนาระบบอีคอมเมิร์ซและเว็บ Web Programmer /Developer, นักออกแบบเว็บเพจ Web Design / Web Content กลุ่มผู้ดูแลระบบ (Hosting , Network & Security) นักบริหารจัดระบบด้านบริการเว็บไซต์ (Web Hosting Administrator) ผู้บริหารจัดการระบบความมั่นคงปลอดภัยด้านอีคอมเมิร์ซ (Security Administrator) กลุ่มด้านการตลาด (e-marketing , Special Platform) (นักการตลาดด้านอีคอมเมิร์ซ E-Marketing) และกลุ่มทางด้านผู้ตรวจประเมินเว็บไซต์ (Audit , Consult) ผู้ตรวจประเมินเว็บไซต์ (Web Auditor) ที่ปรึกษาด้านธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (Coaching /Consultant) ตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติ ๗ ชั้น เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้กลุ่มสาขาอาชีพ จัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ มีความเป็นสากลและเหมาะสมกับประเทศไทย เป็นที่ยอมรับทั้งในภายในประเทศและระดับสากลเป็นการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

นายนิธิวัชร์ ศิริปริยพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักประเมินสมรรถนะ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
นายนิธิวัชร์ ศิริปริยพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักประเมินสมรรถนะ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)

นายนิธิวัชร์ ศิริปริยพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักประเมินสมรรถนะ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อได้มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพดังกล่าวแล้ว บุคลากรในกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องจะสามารถนำไปพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะของตนเอง มองเห็นโอกาสและเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ ผู้ประกอบการสามารถจ้างงานได้ตรงกับความต้องการ ประเมินผลิตภาพส่วนบุคคล และวางแผนพัฒนาสมรรถนะบุคลากรรายบุคคลให้สอดคล้องกับตำแหน่งงาน สถานศึกษาสามารถนำไปใช้ในการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีสมรรถนะสอดคล้องกับวิชาชีพและความต้องการของผู้ประกอบการ ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศไทยได้ในที่สุด

แสดงความคิดเห็น

[fbcomments count="off" num="5"]