ชูเทคโนโลยีเพิ่มมูลค่ากลุ่มผ้าทอ ยกระดับผลิตภัณฑ์โอท็อปอีสาน

สยามธุรกิจ ฉบับวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
น.ส.จีรวัฒน์ เหรียญอารีย์ คณบดีคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหา วิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า ทางสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความประสงค์ในการหาที่ปรึกษาและผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องเทคโนโลยีและนวัตกรรมประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายและของใช้ ของตกแต่ง และของที่ระลึกด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มการผลิตกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในพื้นที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เป็นสถาบันการศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์วิชาชีพด้านคหกรรมศาสตร์ที่มีความรู้ความชำนาญ และประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์สร้างสรรค์ ประเภทของตกแต่ง และของที่ระลึก จึงได้รับเป็นที่ปรึกษาดำเนินโครงการยกระดับผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ให้มีศักยภาพทางตลาดด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายตลอดจนของใช้ ของตกแต่ง และของที่ระลึก พื้นที่ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ประจำปี พ.ศ.2559 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีขึ้น
ด้าน ผศ.ดร.อ้อยทิพย์ ผู้พัฒน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม กล่าวว่า ในการคัดเลือกพิจารณาผลิตภัณฑ์ตามที่สป.วท.กำหนด โดยได้พิจารณาเข้าร่วม 14 กลุ่ม ประกอบด้วยวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย อ.ชนบท จ.แขนแก่น, วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น, วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายมัดย้อม อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น, วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมทอผ้าฝ้ายบ้านเหล่าใหญ่ อ.ส่องดาว จ.สกลนคร, วิสาหกิจชุมชนทอผ้าครองวิถี อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร, วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้ามัดหมี่ย้อมสีครามธรรมชาติ อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี, วิสาหกิจชุมชน กลุ่มทอผ้าไหมขิดบ้านอูบมุงเหนือ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี, วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านทอผ้าและตัดเย็บชุมชน หมู่ 13 อ.เดชอุดม จ.อุบล ราชธานี, วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้ากาบบัวคำขวาง อ.วารินชำราบ จ.อุบล ราชธานี, วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้า ย้อมสีธรรมชาติบ้านหนองหญ้า ปล้อง อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น, วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้ามัดหมี่และหมอนขิดบ้าน ด่านเหนือ อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์, กลุ่มทอผ้าบ้านคำโพนทอง อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์, วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรี แม่บ้านโนนสามัคคี อ.พยุห์ จ.ศรีสะเกษ กลุ่มสตรีบ้านแกใหญ่ อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์
ทั้งนี้ ในการลงพื้นที่ทั้ง 14 กลุ่ม ได้นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจกลุ่มเป้าหมายมาวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง และแนวทางของการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ตอบสนองความต้องการของตลาด และสามารถดำเนินการได้จริงของแต่ละผลิตภัณฑ์ กำหนดแผนในการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์โอท็อป (Concept idea) เน้นการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมรวมทั้งผลงานวิจัย ที่ดำเนินการโดยนักวิจัยของสาขาวิชาด้านคหกรรมศาสตร์ รวมกับภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งกลุ่มเป้าหมายสามารถนำไปสู่กระบว นการผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ได้จริง

แสดงความคิดเห็น

[fbcomments count="off" num="5"]