มทร.ธัญบุรี ปลื้ม นศ.กวาด 3 รางวัลที่ญี่ปุ่น

          มทร.ธัญบุรี ปลื้มนักศึกษากวาด 3 รางวัล โครงการความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี กับ Hokkaido Information University (HIU) ประเทศญี่ปุ่น  

รศ.ดร. ณฐา คุปตัษเฐียร ผู้ช่วยอธิการบดี ตามที่ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับ Hokkaido Information University (HIU) ประเทศญี่ปุ่น ในการสร้างความร่วมมือกันระหว่างสองมหาวิทยาลัย และได้มีการดำเนินกิจกรรมการประกวดการออกแบบเว็บไซต์ระหว่างทั้งสองมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องทุก ๆ ปีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จนมาถึงปัจจุบัน โดยในปีนี้มีจัดการประกวดระหว่างสองสถาบันเพื่อเฟ้นหานักศึกษาที่มีความสามารถเข้ารับการอบรมเชิงปฎิบัติการโดยแบ่งออกเป็น 3โครงการย่อย คือ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบและประกวดเว็บไซต์ (iWDC) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาและประกวดการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (iCPC) และโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตและประกวดภาพยนตร์สั้น (iSFC)  โดยแบ่งระยะเวลาในการดำเนินงาน 2 ระยะ คือระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม – 5 กันยายน 2560 ณ มทร.ธัญบุรี และระหว่างวันที่ 9 – 20 กันยายน 2560 ณ Hokkaido Information University (HIU) โดยในปีนี้มีนักศึกษาจาก มทร.ธัญบุรี และ HIU เข้าร่วม 36 คน โดยนักศึกษาจาก มทร.ธัญบุรี คว้ารางวัลชนะเลิศมาทั้ง 3 รายการ

“ก้อย” นางสาวรสริน สุขสมบัติ นักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ได้รับรางวัลชนะเลิศโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการปฏิบัติการออกแบบและประกวดเว็บไซต์ International Web Design Contest (iWDC 2017) เล่าว่า “Diversity” หัวข้อในการแข่งขันนออกแบบเว็บไซต์ จึงนำมาตีโจทย์สำหรับ Diversity หมายถึงความหลากหลาย แนวคิดของเว็บไซต์คือความหลากหลายในการทำเกษตร จัดพื้นที่ในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ในการทำเว็บไซต์นี้เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกร หันมาทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ให้เกิดความหลากหลายทางด้านการทำเกษตรกร และสามารถจัดพื้นที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยและมีชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ในการเข้าร่วมโครงการครั้งนี้ทำให้กล้าแสดงออก เรียนรู้วัฒนธรรมของคนญี่ปุ่น ระเบียบและความตรงต่อเวลาของคนประเทศญี่ปุ่น

“กาย” นายมติ กาญจนพันธุ์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาและประกวดการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ International Computer Programming Contest (iCPC 2017) เล่าว่า สนใจทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์ จึงได้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ดีมาก ได้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนญี่ปุ่น ซึ่งประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี คิดค้นสิ่งประดิษฐ์มากมาย โดย APP : CPC-Carpark ที่คว้ารางวัลชนะเลิศ เกิดจากแนวคิดปัจจุบันมีผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาคารบ้านเรือนก็เกิดขึ้นเยอะ ส่งผลทำให้ไม่มีที่จอดรถ และทุกวันนี้ธุรกิจในการจอดรถเกิดขึ้นมาบ้างแล้ว จึงได้นำแนวคิดที่จอดรถในห้างมาใช้ในการสร้างธุรกิจที่จอดรถ ในการทำงานของโปรแกรม เมื่อเซ็นเซอร์ได้รับค่าจาก Ultralsonic โปรแกรมจะตรวจสอบความนิ่งของวัตถุ คือ วัตถุต้องหยุดนิ่ง 10 วินาทีถึงจะเริ่มการจับเวลาการจอด (กรณีผู้ใช้รถกําลังขยับ จะไม่คิดเงิน เมื่อมีการจอดแล้ว NodeMCU จะทําการส่งข้อมูลไปยัง Firebase Database ตลอดทุกนาที เมื่อเวลาผ่านไปจํานวนเงิน ก็จะเพิ่มมากขึ้นตามเวลาจอด เมื่อมีวัตถุออกจาก Sensor โปรแกรมจะทําการนับ 10 วินาทีอีกครั้งจากนั้นจะส่งข้อมูล ผลสรุปออกไปยัง Firebase Database อีกครั้งเพื่อให้แสดงผล และ ยังเก็บบันทึกข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลอีกด้วย

ทางด้าน “ท๊อป” นายอัครชัย สุขเฉย และ “อาร์ม” นายธนภัทร รื่นสุคนธ์ นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ได้รับรางวัลชนะเลิศโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตและประกวดภาพยนตร์สั้น International Short Film Contest (iSFC 2017) เล่าว่า  “การใช้ชีวิตก็เหมือนการเดินทาง ค้นหาเส้นทางที่ถูกต้องที่จะต้องเดินไป หากมีชิ้นส่วนในเส้นทางขาดหายไป เราก็อาจเดินไปผิดทางได้ บางชิ้นส่วนที่มาช่วยเดินทาง หรือบางส่วนที่จะมาเดินร่วมทางไปด้วยกันในแผนที่ชีวิต” บทสรุปของหนังสั้นเรื่อง “Lost Page” 5 นาที ในหัวข้อแผนที่ ดีใจที่ได้รับรางวัลและเข้าร่วมโครงการให้ครั้งนี้ ได้เรียนรู้เทคนิคในการตัดต่อหนังสั้น และร่วมทำงานกับเพื่อนญี่ปุ่น

00ชลธิชา ศรีอุบล

กองประชาสัมพันธ์ มทร.ธัญบุรี 0-2549-4994

แสดงความคิดเห็น

[fbcomments count="off" num="5"]